วันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คู่มือ ไก่พื้นเมือง

ความสำคัญของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

















   




      ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้ว่าเป็ นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่ าในประเทศเอเซีย
โดยเฉพาะป่ าในแถบประเทศเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้ ซึ่งมนุษย์ได้นํามา เป็ นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปี ก่อน หลังจากมนุษย์ได้นําไก่ป่ ามาเลี้ยงไว้ในหมู่บ้านไก่และมนุษย์จะอยูในรูปพึ่งพาอาศัยกัน ไก่อาศัยอาหารการเลี้ยงดูและการป้ องกนอันตรายจากมนุษย์ ในขณะเดียวก ั นมนุษย์ก ั ็อาศัย ไก่และไข่เป็ นอาหารเป็ นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกนและกันเรียกเป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้ อยู่ร่วมกนอย่างต่อเนื่อง ภายใต้สภาพแวดล้อมและการเป็ นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง การวิวัฒนาการของไก่เป็ นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่ งก็ขึ้นอยู่กบธรรมชาติ บางปี เกิดภัยธรรมชาติ รุนแรงสัตว์เลี้ยงจะตายมากหรือบางปี โรคไก่ระบาดรุนแรงไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมดจะมีเหลือให้ขยายพันธุ์ จํานวนหนึ่ง ซึ่ งโดยปกติแล้วจะเหลือตํ่ากว่า 10% ซึ่ งจํานวนนี้จะขยายพันธุ์เพิ่ มจํานวนขึ้นมาใหม่ ตัวที่ แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่ จึงเป็ นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนเป็ นไก่พื้นเมืองสืบทอดมาให้เราได้ใช้ ประโยชน์ถึงทุกวันนี้ ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็ นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่หลากหลายเป็ นทรัพย์สินภูมิ ปัญญาของชาวบ้านโดยแท้เป็ นเทคโนโลยีทีเหมาะสมกบชาวไร่  ชาวนาที่อาศัยอยู่ในชนบท ไก่เป็ นทั้งผู้ให้ ความเพลิดเพลิน เช่น ไก่ชน ไก่แจ้ ที่มีรูปร่างสวยงาม น่าเลี้ยงไว้เป็ นเพื่อน ขันให้ฟังปลุกให้ตื่นนอน หรือ บอกเวลาตอนกลางคืน เนื่องจากไก่ตัวผู้จะขันตรงเวลาเสมอๆ อาศัยเป็ นเครื่องบอกชัวโมงยามกลางคืนได้ดี ่ ชาวบ้านจดจําและเข้าใจการอยูร่วมกนระหว่างคนและไก่พื้ นเมืองควบคู่กนมาตลอด ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัย ไก่มากกว่าที่ไก่จะอาศัยคน คือ ไก่สามารถคุ้ยเขี่ยหากินได้ตามธรรมชาติส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้ เล็กๆ น้อยๆ ก็ต้องอาศัยไก่ เป็ นผู้ให้ ดังนั้ น ไก่พื้ นเมืองจึงเป็ นไก่ที่วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้ นฐานของธรรมชาติ เป็ นหลัก จึงทําให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นเป็ นคุณสมบัติเฉพาะตัว เช่น ความต้านทาน ต่อโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมการลี้ยงดูของเกษตรกรในชนบท โดยเฉพาะรายยอย จึงเหมาะที่จะทําการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เน้นที่เกษตรกรรายย่อยในชนบทที่เป็ นเจ้าของเทคโนโลยีชีวภาพแหล่งพันธุกรรมสัตว์พื้นเมืองเป็ นสําคัญ

http://thainativechicken.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น